top of page

ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย

ภาษาบาลี และสันสกฤตในภาษาไทย 

 

ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้

 

  1. มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ

  2. ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ

  3. นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ

  4. ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

 

ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ

นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา

แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้

พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี

 

 

หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี

 

  1. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม

  2. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5

  3. พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา ฯลฯ

  4. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา ฯลฯ

  5. พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร ฯลฯ

  6. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา ฯลฯ

 

ตัวอย่างคำภาษาบาลี

 

คำยืมจากภาษาบาลี

ความหมาย

คำยืมจากภาษาบาลี

ความหมาย

กิตติคำเล่าลือ, คำสรรเสริญภริยาภรรยา, เมีย

กิเลสเครื่องทำใจให้หมองเศร้ามัจจุราชพญายม

กิริยาการกระทำมัจฉาปลา

กีฬากิจกรรมหรือการเล่นมัชฌิมปานกลาง

เขตแดนที่กำหนดขีดคั่นไว้มหันต์ใหญ่, มาก

ขณะครู่, ครั้งเมตตาความรักและเอ็นดู

คิมหันต์ฤดูร้อนมิจฉาผิด

จตุบทสัตว์สี่เท้ามเหสีชายของพระเจ้าแผ่นดิน

จิตใจมุสาเท็จ, ปด

จุฬายอด, หัว, มงกุฏมัสสุหนวด

โจรผู้ร้ายที่ลักขโมยรัตนาแก้ว

เจดีย์สิ่งซึ่งก่อมียอดแหลมโลหิตเลือด

จุติการกำเนิดวัตถุสิ่งของ

ฉิมพลีไม้งิ้ววิชาความรู้

ญาติคนในวงศ์วานวิญญาณความรับรู้

ดิถีวันตามจันทรคติวิตถารมากเกินไป, พิสดาร

ดาราดาว, ดวงดาววิริยะความเพียร

ดุริยะเครื่องดีดสีตีเป่าวิสุทธิ์สะอาด, หมดจด

เดชะอำนาจวุฒิภูมิรู้

ทัพพีเครื่องตักข้าวสงกาความสงสัย

ทิฐิความอวดดื้อถือดีสังข์ชื่อหอยชนิดหนึ่ง

นาฬิกาเครื่องบอกเวลาสงฆ์ภิกษุ

นิพพานความดับสนิทแห่งกิเลสสูญทำให้หายสิ้นไป

นิลุบนบัวขาบสิริศรี, มิ่งขวัญ, มงคล

ปฏิทินแบบสำหรับดูวัน เดือน ปีสันติความสงบ

ปฏิบัติดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผนสัญญาณเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยิน

ปฐพีแผ่นดินเสมหะเสลด

ปกติธรรมดาสัจจะความรู้สึก

ปัญญาความรอบรู้สติความรู้สึก

ปัจจัยเหตุอันเป็นทางให้เกิดผลโสมนัสความสุขใจ

บุคคลคนอิทธิฤทธิ์

บัลลังก์ที่นั่งอัคคีไฟ

บุปผาดอกไม้อัจฉรานางฟ้า

โบกขรณีสระบัวอนิจจาคำที่อุทานแสดงความสงสารสังเวช

ปฐมลำดับแรกอัชฌาสัยนิสัยใจคอ

ปัญหาข้อสงสัย, ข้อขัดข้องอายุเวลาที่ดำรงชีวิตอยู่

พยัคฆ์ชื่อพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกโอวาทคำแนะนำ, คำตักเตือน

ภัตตาอาหารโอรสลูกชาย

ภิกขุภิกษุโอกาสช่อง, ทาง

คำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต

คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
สังคมศึกษา
ภาษาต่างประเทศ
ศิลปะ
สุขศึกษา
การงานอาชีพ
bottom of page