การเติม s es ที่คำกริยา ก็คล้ายกันกับการเติม s es ที่ท้ายคำนาม เพื่อทำคำนามให้เป็นนามพหูพจน์ทุกประการ ยกเว้นท้ายกริยาที่ลงท้ายด้วย o เท่านั้นที่แตกต่างนิดหนึ่ง เพราะกริยาที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es อย่างเดียว ไม่เหมือนคำนามที่เติม s บ้าง es บ้าง
หลักการเติม s es มีดังนี้
หากประธานเป็นเอกพจน์ กริยาเติม s,es ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติมนะครับ หลักการเติมมีดังนี้
1. เติม s หลังคำกริยาปกติทั่วๆ ไป เช่น
คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปล
comeคัมcomesคัมสมา
cutคัทcutsคัทสตัด
drinkดริงคdrinksดริงคสดื่ม
feelฟีลfeelsฟีลสรู้สึก
eatอีทeatsอีทสกิน
swimสวิมswimsสวิมสว่ายน้ำ
2. เติม es หลังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เช่น
คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปล
catchแค็ทชcatchesแค็ชเช็สจับ
kissคิสkissesคิสเส็สจูบ
teachทีชteachesทีชเช็สสอน
washวอชwashesวอชเช็สล้าง
buzzบัสbuzzesบัสเส็สส่งเสียงหึ่งๆ
fixฟิกสfixesฟิกเซ็สซ่อม
goโกgoesโกสไป
doดูdoesดัสทำ
-
ถ้าลงท้ายด้วย -shes ให้ออกเสียง เช็ส ต่อท้าย แต่ ช ช้างออกเสียงคล้ายไล่ไก่
-
ถ้าลงท้ายด้วย -ches ให้ออกเสียง เช็ส ต่อท้าย และช ช้างออกเสียงเหมือน ช ช้างของไทย
-
ถ้าลงท้ายด้วย -ses ให้ออกเสียง เซ็ส ต่อท้าย
-
ถ้าลงท้ายด้วย -ses ให้ออกเสียง เซ็ส ต่อท้าย
-
ถ้าลงท้ายด้วย -zes ให้ออกเสียง เส็ส ต่อท้าย แต่ต้องทำเสียงสั่น ๆ ในลำคอหน่อย
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y มี 2 ประการดังนี้
หน้า y เป็นสระ ( a , e , i , o , u ) ให้เติม s ได้เลย เช่น
คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปล
buyบายbuysบายสซื้อ
playพเลplaysพเลสเล่น
sayเซsaysเซสพูด
payเพpaysเพสจ่าย
stayสเตstaysสเตสพัก
แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปล
flyฟลายfliesฟลายสบิน
cryครายcriesครายสร้องไห้
studyสตัดดิstudiesสตัดดิสเรียน
tryทรายtriesทรายสพยายาม